สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 1-7 พฤษภาคม 2566

 

ข้าว

1.สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 มาตรการสินค้าข้าว
1) โครงการสำคัญภายใต้แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/66 ดังนี้
1.1) ด้านการผลิต
(1) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว และมาตรการควบคุม
ค่าเช่าที่นา
(2) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน (ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวอินทรีย์) และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับการผลิตข้าวยั่งยืน
(3) การควบคุมปริมาณการผลิตข้าว ได้แก่ โครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรตามแผนที่การเกษตรเชิงรุก (Zoning by Agri-Map) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยเสริมสร้างรายได้แก่เกษตรกร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566 โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง โครงการส่งเสริมการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ผ่านระบบสหกรณ์ แผนการถ่ายทอดความรู้การผลิตพืชหลังนาและการใช้น้ำในการผลิตพืชอย่างมีประสิทธิภาพ และแผนการผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต
(4) การพัฒนาชาวนา ได้แก่ โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer)
(5) การวิจัยและพัฒนา ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าวเจ้าพื้นนุ่มและพื้นแข็ง การปรับปรุงพันธุ์ข้าวหอมไทย การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโภชนาการสูง และการปรับปรุงพันธุ์ข้าวเหนียว
(6) การประกันภัยพืชผล ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปี
(7) การส่งเสริมการสร้างยุ้งฉางให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรทั่วประเทศ (รัฐชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 3)
1.2) ด้านการตลาด
(1) การพัฒนาตลาดสินค้าข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร และโครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
(2) การชะลอผลผลิตออกสู่ตลาด ได้แก่ โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร และโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
(3) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ ได้แก่ โครงการกระชับความสัมพันธ์และรณรงค์สร้างการรับรู้ในศักยภาพข้าวไทยเพื่อขยายตลาดข้าวไทยในต่างประเทศ และโครงการปกป้องและแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า
(4) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว และนวัตกรรมข้าว ได้แก่ โครงการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ข้าวไทย โครงการส่งเสริมตลาดและประชาสัมพันธ์ข้าวอินทรีย์ไทย และโครงการเสริมสร้างศักยภาพสินค้าเกษตรนวัตกรรมไทยเพื่อการต่อยอดเชิงพาณิชย์
2) มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้
2.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 รอบที่ 1 โดยกำหนดชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) ดังนี้ (1) ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันตันละ 15,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน (2) ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันตันละ 14,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน (3) ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันตันละ 10,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน (4) ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคาประกันตันละ 11,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน และ (5) ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันตันละ 12,000 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
2.2) มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ประกอบด้วย
3 โครงการ ได้แก่
(1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในเขตพื้นที่ปลูกข้าวทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เป้าหมายจำนวน 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก วงเงินสินเชื่อต่อตัน จำแนกเป็น ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ตันละ 8,600 บาท รวมทั้งเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเอง จะได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือกในอัตราตันละ 1,500 บาท สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับในอัตราตันละ 1,000 บาท และเกษตรกรผู้ขายข้าวเปลือก ได้รับในอัตราตันละ 500 บาท
(2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท
คิดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4 ต่อปี โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ย ร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกรร้อยละ 3 ต่อปี
(3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 ผู้ประกอบการค้าข้าวรับซื้อข้าวเปลือกเพื่อเก็บสต็อก เป้าหมาย 4 ล้านตันข้าวเปลือก โดยสามารถรับซื้อจากเกษตรกร
ได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ 1 มกราคม - 30 มิถุนายน 2566) และเก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร ระยะเวลาการเก็บสต็อกอย่างน้อย 60 - 180 วัน (2 - 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย
ในอัตราร้อยละ 3
2.3) โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
ธ.ก.ส. ดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดต้นทุนการผลิต ให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 13,418 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,339 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,869 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,993 บาท
ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.24
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 30,517 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 30,130 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.28
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,450 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,083 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้น
จากตันละ 853 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,011 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 72 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 503 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,030 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 499 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,971 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.80 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 59 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 509 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,233 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 505 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,175 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 58 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.8568 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
เวียดนาม
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ภาวะราคาข้าวทรงตัวในระดับสูง (เป็นระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2564) เนื่องจากตลาดนำเข้าที่สำคัญยังคงมีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อุปทานข้าวในตลาดมีจำกัด เนื่องจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวในฤดูการผลิตหลัก คือ ฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ (the winter-spring crop) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และผลผลิตข้าวในฤดูถัดไป คือ ฤดูร้อน-ฤดูใบไม้ร่วง จะออกสู่ตลาดอีกครั้งในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน 2566 โดยราคาข้าวขาว 5% อยู่ที่ 495-500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เท่ากับระดับ 495-500 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่วงการค้าข้าวระบุว่า ผู้ค้าข้าวได้เร่งหาซื้อข้าวจากชาวนามากขึ้น เพราะคาดว่าตลาดต่างประเทศจะมีความต้องการข้าวมากขึ้นในช่วงถัดจากนี้
ขณะที่ สมาคมอาหารเวียดนาม ระบุว่า ณ วันที่ 15 เมษายน 2566 เวียดนามสามารถส่งออกข้าวได้แล้วประมาณ 2.37 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 33.7 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
หน่วยงานด้านการส่งออกและนำเข้าภายใต้กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (the Import/Export under Department the Industry and Trade Ministry) รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรก การส่งออกข้าวของเวียดนามยังคงไปได้ด้วยดีทั้งในส่วนของปริมาณส่งออกที่เพิ่มขึ้น และราคาส่งออกข้าวที่สูงขึ้น
ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ สหภาพยุโรป ซึ่งถือเป็นตลาดที่สำคัญของข้าวคุณภาพสูงของเวียดนาม เช่น ข้าวหอม และสินค้าแปรรูปจากข้าว นอกจากนี้ ในอนาคตเวียดนามมีแผนที่จะขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์จากข้าวอื่นๆ ด้วย เช่น ข้าวเหนียว ข้าวขาวคุณภาพสูง และข้าวอินทรีย์ รวมทั้งข้าวที่ให้คุณค่าทางอาหารสูงในตลาดนี้ด้วย
ทางด้านนาย Huynh Van Khoe ผู้บริหารของบริษัท Lotus Rice ระบุว่า ในแต่ละปีบริษัทฯ ได้ส่งออกข้าวคุณภาพสูงกว่า 1,000 ตัน ไปยังตลาดสหภาพยุโรป ซึ่งนิยมบริโภคข้าวคุณภาพสูงมากกว่าข้าวคุณภาพต่ำ และไม่เกี่ยงเรื่องราคา แต่ปัญหาที่ประสบอยู่คือ มีสินค้าไม่เพียงพอที่จะป้อนตลาดนี้
ในขณะที่บริษัท Trung An Hi-tech Farming JSC ระบุว่า ในปัจจุบันนี้ บริษัทได้ส่งออกข้าวหอมในกลุ่ม ST24 และ ST25 ไปยังตลาดสหภาพยุโรป ในระดับราคาประมาณ 1,250 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ขณะที่ข้าวหอมชนิดอื่น ราคาอยู่ที่ประมาณ 800-925 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน
นาย Nguyen Ngoc Nam ประธานสมาคมอาหารเวียดนาม (president of the Vietnam Food Association) กล่าวว่า คุณภาพของข้าวจำเป็นต้องมีเสถียรภาพมากขึ้นเพื่อรักษาชื่อเสียงในการส่งออก โดยผู้ผลิตจำเป็นต้องควบคุมเรื่องการตกค้างของยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูก เพื่อให้ผู้ส่งออกสามารถนำเสนอผลิตภัณฑ์ราคาสูงไปยังตลาดระดับสูงได้
สำนักข่าว VNA รายงานว่า เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 หน่วยงานของเวียดนามได้จัดการประชุมขึ้นที่ฮ่องกงเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างภาคธุรกิจข้าวจากเวียดนามและฮ่องกง รวมทั้งส่งเสริมข้าวคุณภาพสูงของเวียดนาม
ในตลาดฮ่องกงด้วย
นาย Tran Quoc Toan รองผู้อำนวยการกรมนำเข้า-ส่งออก กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้า (Deputy Director of the Import-Export Department under the Ministry of Industry and Trade) กล่าวว่า เวียดนามเป็นคู่ค้ารายใหญ่ติด 1 ใน 10 อันดับแรกของฮ่องกงมาหลายปีติดต่อกัน โดยมูลค่าการนำเข้าและส่งออกรวมระหว่าง
ทั้งสองฝ่ายในปี 2565 มีมูลค่าเกือบ 1.09 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับปี 2564 และในช่วง
สามเดือนแรกของปี 2566 มูลค่าการค้าอยู่ที่ระดับ 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 28 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
สำหรับสินค้าข้าว ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 เวียดนามส่งออกข้าวไปยังฮ่องกงมากกว่า 16,000 ตัน ซึ่งใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา
ด้านนาง Ta Thu Thuy ตัวแทนจากสมาคมอาหารเวียดนาม (Vietnam Food Association) กล่าวว่า ฮ่องกงเป็นหนึ่งในตลาดเฉพาะแบบดั้งเดิมของข้าวชนิดพิเศษของเวียดนาม โดยมีปริมาณการบริโภคที่น้อยแต่มีกำลังซื้อที่มั่นคงตลอดหลายปีที่ผ่านมา และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การค้าข้าวระหว่างเวียดนามและฮ่องกงยังคงดำเนินไปอย่างค่อนข้างราบรื่น
ขณะที่ นาย Kenneth Chan ประธานสมาคมพ่อค้าข้าวแห่งฮ่องกง (Chairman of the Rice Merchants' Association of Hong Kong) กล่าวว่า เวียดนามเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกธัญพืชรายใหญ่ของโลก และเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสองที่ส่งไปยังฮ่องกง โดยในช่วงปี 2551-2556 ส่วนแบ่งตลาดข้าวของเวียดนามในฮ่องกงเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.5 เป็นร้อยละ 42 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันและความสามารถในการปรับตัวของข้าวเวียดนาม
โดยปัจจุบัน ฮ่องกงนำเข้าข้าวมาจากเวียดนามประมาณร้อยละ 24 ของข้าวที่นำเข้าทั้งหมด และคาดหวังว่าความร่วมมือระหว่างสมาคมข้าวทั้งสองจะคงอยู่และพัฒนาต่อไป
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
ฟิลิปปินส์
สำนักงานสถิติแห่งฟิลิปปินส์ (the Philippine Statistics Authority; PSA) รายงานว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2566 ผลผลิตข้าวเปลือกคาดว่าจะมีปริมาณ 4.79 ล้านตัน (โดยพิจารณาจากสถานะพืชยืนต้น ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบเป็นรายปี แต่ต่ำกว่าการคาดการณ์เบื้องต้นที่ 4.84 ล้านตัน ที่รายงานไว้เมื่อวันที่
1 มกราคม 2566
โดยในช่วงไตรมาสแรก คาดการณ์ว่าพื้นที่ปลูกข้าวจะเพิ่มขึ้นเป็น 7.375 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยผลผลิตต่อพื้นที่อยู่ที่ประมาณ 0.649 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยข้อมูล ณ วันที่
1 กุมภาพันธ์ 2566 มีการเก็บเกี่ยวไปแล้วประมาณร้อยละ 20 ของพื้นที่เพาะปลูก
หน่วยงานด้านการบริหารสภาพอากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งชาติของฟิลิปปินส์ (the Philippine Atmospheric, Geophysical and Astronomical Services Administration; PAGASA) ประกาศเตือนภัยเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เกี่ยวกับปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยระบุว่า ฤดูแล้งอาจเกิดขึ้นตั้งแต่เดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2566 และอาจกินระยะเวลาต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2567
หน่วยงาน PAGASA ระบุว่า จากสถานการณ์ล่าสุด และการจำลองการคาดการณ์นั้น บ่งชี้ว่าเอลนีโญอาจเกิดขึ้นในฤดูกาลที่จะถึงนี้ โดยมีความเป็นไปได้ถึงร้อยละ 80 และอาจคงอยู่ไปจนถึงไตรมาสแรกของปี 2567 ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าว จึงมีการประกาศเตือนภัยอย่างเป็นทางการ และหน่วยงาน PAGASA จะเฝ้าดูปรากฏการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์เอลนีโญจะก่อให้เกิดฝนตกน้อยกว่าปกติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบที่น่ากังวล อาทิ ความแห้งแล้งและภัยแล้งในบางพื้นที่ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นหน่วยงานฯ จึงขอให้หน่วยงานของภาครัฐที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป เฝ้าติดตามและปฏิบัติตามมาตรการป้องกันผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญอย่างใกล้ชิดต่อไป
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
อินเดีย
ภาวะราคาข้าวเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลง เนื่องจากความต้องการข้าวจากต่างประเทศลดน้อยลง
โดยราคาข้าวนึ่ง 5% อยู่ที่ระดับ 378-382 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ลดลงจากระดับ 382-388 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน
ในสัปดาห์ก่อนหน้า
สำนักข่าว MENAFN รายงานว่า ณ วันที่ 26 เมษายน 2566 องค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) และหน่วยงานของรัฐบาลสามารถจัดหาข้าวเปลือกในฤดูการตลาด Kharif 2022/23 (Kharif Marketing Season; KMS) (1 ตุลาคม 2565-30 กันยายน 2566) ได้แล้วประมาณ 49.42 ล้านตัน (รวมถึงข้าว จำนวน 10.6 ล้านตัน ที่เก็บเกี่ยวได้ในฤดู the Rabi season) ลดลงจากจำนวนประมาณ 49.57 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยข้าวที่จัดหาได้ในขณะนี้ คิดเป็นร้อยละ 96 ของเป้าหมายที่ 51.47 ล้านตัน (ที่คาดว่าจะจัดหาได้ในฤดู the Kharif crop 2022/23)
ทั้งนี้ ในฤดูการตลาด Kharif 2021/22 (Kharif Marketing Season; KMS) (1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2565) รัฐบาลสามารถจัดหาข้าวได้ประมาณ 57.588 ล้านตัน
ณ วันที่ 1 เมษายน 2566 องค์การอาหารแห่งชาติ (FCI) มีสต็อกข้าวในคลังรัฐบาล (Central Pool) ประมาณ 15.74 ล้านตัน และข้าวเปลือกประมาณ 27.64 ล้านตัน
ทางด้านสำนักข่าว Financial Express รายงานว่า การจัดหาข้าวเปลือกโดยองค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India; FCI) ในฤดู Rabi Crop (RMS 2022-23) สำหรับฤดูการผลิต 2022/23 (ตุลาคม 2565-กันยายน 2566) ณ วันที่ 26 เมษายน 2566 มีจำนวนประมาณ 18.8 ล้านตัน ขณะที่การจัดหาข้าวสาลีในฤดู Rabi Crop (RMS 2023-24) สำหรับฤดูการผลิต 2023/24 (ตุลาคม 2566-กันยายน 2567) มีจำนวนประมาณ 19.5 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณมากกว่าการจัดหาได้ทั้งหมดในปีการผลิต 2022/23
โดยในปี 2566 รัฐบาลสามารถจัดซื้อข้าวสาลีจากรัฐที่สำคัญ 3 รัฐ ได้แก่ ปัญจาบ หรยาณา และมัธยประเทศ โดยมีการจัดหาได้จำนวน 8.980 ล้านตัน และ 4.947 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การจัดซื้อเป็นไปอย่างต่อเนื่องในปีนี้คือ การผ่อนปรนโดยรัฐบาลอินเดียในเรื่องข้อกำหนดคุณภาพของข้าวสาลีที่กำลังจัดหา เนื่องจากการที่ฝนตกไม่ทั่วถึงทำให้เกิดการสูญเสียความมันวาวของเมล็ด ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยลดความยากลำบากของเกษตรกร และการตรวจสอบการขายที่มีปัญหา
นอกจากนี้ รัฐบาลยังอนุญาตให้ทุกรัฐเปิดศูนย์จัดซื้อในระดับหมู่บ้าน และดำเนินการจัดซื้อผ่านสมาคมหรือสหกรณ์ได้ นอกเหนือจากศูนย์จัดซื้อที่มีอยู่แล้ว เพื่อการเข้าถึงแหล่งรับซื้อของเกษตรกรดีขึ้น
ในส่วนของการจัดหาข้าวนั้น ยังคงดำเนินไปอย่างราบรื่น ทำให้สต็อกข้าวสาลีและข้าว มีปริมาณรวมกันที่เก็บไว้ในสต็อกกลางของรัฐบาล (Central Pool) มีจำนวนเกิน 51 ล้านตัน ซึ่งส่งผลให้อินเดียสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยสำหรับการตอบสนองต่อความต้องการธัญพืชของประชากรมากขึ้น จากการที่สามารถจัดหาข้าวสาลีและข้าวได้อย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ระดับสต็อกธัญพืชในคลังของรัฐบาลเพิ่มสูงขึ้น
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย

 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
ราคาข้าวโพดในประเทศช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.70 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.73 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 8.61 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.23
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 12.53 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 12.67 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 374.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,648.00 บาท/ตัน)  ลดลงจากตันละ 375.00 ดอลลาร์สหรัฐ (12,768.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.27 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 120.00 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนกรกฏาคม 2566 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 644.00 เซนต์ (8,698.00 บาท/ตัน) สูงขึ้นจากบุชเชล ละ 640.00 เซนต์ (8,681.00 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.63 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 17.00 บาท

 


มันสำปะหลัง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
การผลิต
ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – กันยายน 2566)
คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.733 ล้านไร่ ผลผลิต 32.730 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.363 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2565 ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 9.921 ล้านไร่ ผลผลิต 34.068 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.434 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยว ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่ ลดลงร้อยละ 1.89 ร้อยละ 3.93 และร้อยละ 2.07 ตามลำดับ โดยเดือนพฤษภาคม 2566 คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 1.400 ล้านตัน (ร้อยละ 4.28 ของผลผลิตทั้งหมด)
ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2566 จะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมกราคม – มีนาคม 2566 ปริมาณ 19.317 ล้านตัน (รอยละ 59.02 ของผลผลิตทั้งหมด)
การตลาด
เป็นช่วงปลายฤดูกาลเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง แต่จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งส่งผลทำให้เกษตรกรเพาะปลูกมันสำปะหลังล่าช้ากว่าปกติ สำหรับลานมันเส้นและโรงงานแป้งมันสำปะหลังส่วนใหญ่เปิดดำเนินการตามปกติ และมีเชื้อแป้งมันสำปะหลังเฉลี่ย 21 – 27%
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้
ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 3.15 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.63
ราคามันเส้นสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.44 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.49 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.67
ราคาขายส่งในประเทศ
ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ8.62 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.61 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.12
ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.23 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 18.12 บาท ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.61
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 270 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9,220 บาทต่อตัน) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน (9,270 บาทต่อตัน)
ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 550 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,780 บาทต่อตัน)  ราคาสูงขึ้นจากตันละ 545 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,680 บาทต่อตัน) ในสัปดาห์ก่อน คิดเป็นร้อยละ 0.92


 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2566 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนพฤษภาคมจะมีประมาณ 1.704 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.307 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.621  ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.292 ล้านตันของเดือนเมษายน 2566 คิดเป็นร้อยละ 5.12 และร้อยละ 5.14 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 5.19 บาท ลดลงจาก กก.ละ 5.49 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.46  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 31.79 บาท ลดลงจาก กก.ละ 33.30 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.53 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
สถานการณ์ในต่างประเทศ
อินโดนีเซียพยายามที่จะพัฒนาระบบซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบภายในพื้นที่ ซึ่งคาดว่าจะเริ่มต้นใช้ได้ในเดือนมิถุนายน โดยมีแผนว่าจะให้ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายแลกเปลี่ยนผ่านตลาดซื้อขายล่วงหน้าก่อนถึงจะส่งออกได้ และคาดหวังให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ปาล์มมีการซื้อขายน้ำมันปาล์มดิบ (วัตถุดิบ) ผ่านระบบซื้อขายล่วงหน้านี้ด้วย
ราคาในตลาดต่างประเทศ
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 4,041.22 ริงกิตมาเลเซีย (31.35 บาท/กก.) ลดลงจากตัน 4,059.91 ริงกิตมาเลเซีย (31.70 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.46
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 962.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32.98 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 989.17 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34.06 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.70
หมายเหตุ  :  ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน

 


อ้อยและน้ำตาล
  1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
          ไม่มีรายงาน
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในต่างประเทศ
           - ANP รายงานว่า ประเทศบราซิลราคาเฉลี่ยหน้าปั๊มน้ำมันของไฮดรัสเพิ่มขึ้น 3 % ในสุดสัปดาห์วันที่ 29 เมษายน ซึ่งเป็นสัปดาห์ที่สองที่ราคามีการปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่ราคาน้ำมันทรงตัวเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกัน โดยแหล่งข่าวอธิบายว่า Petrobras ไม่มีการปรับเปลี่ยนอัตราน้ำมันในช่วง 60 วันที่ ผ่านมา ในขณะที่ราคาน้ำมันทรงตัวต่อเนื่องหลังจากการที่ราคาได้เคยพุ่งสูงขึ้นจากการกลับมาเก็บภาษีเชื้อเพลิงของรัฐบาลกลางบราซิล โดยส่งผลให้ราคาไฮดรัสอยู่ที่ 74.4 % ของราคาน้ำมัน เทียบกับที่ 72.2 % ในสัปดาห์ที่ แล้ว ด้านสถาบัน Cepea รายงานว่า ในรัฐเซาเปาโล (Sao Paulo) ราคาของไฮดรัสหน้าโรงงานลดลง 4.19 % ในขณะที่ราคาแอนไฮดรัสลดลง 3.44 % ในช่วงวันที่ 29 เมษายน
           - สำนักงานคณะกรรมการน้ำตาลประเทศอินเดีย รายงานว่า ผลผลิตน้ำตาลของรัฐมหาราษฏระ (Maharashtra) ในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 10.527 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณอ้อยลดลงเหลือ 80 – 85 ตัน/เฮกตาร์ เทียบกับปริมาณตามปกติอยู่ที่ 115 ตัน/เฮกตาร์ เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่ดีนัก ด้านธนาคารโลกได้ลงนามในข้อตกลงกับทางสมาคมโรงงานน้ำตาลของอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) เพื่อช่วยเหลือในโครงการเครื่องจักรกล และโครงการชลประทานขนาดเล็ก




 

 
ถั่วเหลือง

1. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 21.67บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 21.84 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.78 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมันสัปดาห์นี้กิโลกรัมละ 23.50 บาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเท (ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,451.28 เซนต์ (18.27 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 1,443.44 เซนต์ (18.26 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.54
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 429.82 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 432.70 ดอลลาร์สหรัฐฯ (14.90 บาท/กก.)ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.67
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 52.39 เซนต์ (39.57 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 51.75 เซนต์ (39.27 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.24


 

 
ยางพารา
 
 

 
ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.89 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 10.76
ถั่วเขียวผิวดำคละ และถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 34.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.33
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 29.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.00 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 3.57
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 39.00 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,035.50 ดอลลาร์สหรัฐ (35.06 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,029.40 ดอลลาร์สหรัฐ (35.01 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.05 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 911.20 ดอลลาร์สหรัฐ (30.99 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66 และลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.96 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,303.50 ดอลลาร์สหรัฐ (44.14 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,295.80 ดอลลาร์สหรัฐ (44.07 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.59 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.07 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 887.00 ดอลลาร์สหรัฐ (30.03 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 852.20 ดอลลาร์สหรัฐ (28.98 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.08 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 1.05 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,178.50 ดอลลาร์สหรัฐ (39.90 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 1,171.40 ดอลลาร์สหรัฐ (39.84 บาท/กก.) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.61 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท


 

 
ถั่วลิสง

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 47.41 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 45.37 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.50
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.81 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.26
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 77.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 67.50 บาท คงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ฝ้าย

 

 
ไหม

ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2,099 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2,078 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.03 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,485 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 1,489 บาทคิดเป็นร้อยละ 0.28 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 942 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 950 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.88 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา


 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลง เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคมีน้อยกว่าผลผลิตเนื้อสุกรที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือสูงขึ้นเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  84.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 85.30 คิดเป็นร้อยละ 1.13 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.83 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 88.69 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 81.12 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 84.81 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,000 บาท ลดลงจากตัวละ 2,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.76 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 76.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 5.90 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
 
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.06 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 44.98 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.18 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 42.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.63 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 14.50 บาท สูงขึ้นจากตัวละ 13.50 บาท คิดเป็นร้อยละ 7.41 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 39.60 บาท คิดเป็นร้อยละ 3.54 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.30 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.09 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
   
สถานการณ์ตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการของผู้บริโภคสอดรับกับผลผลิตไข่ไก่ที่ออกสู่ตลาด แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ                                                                                                                 
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 346 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 344 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.62 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 342 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 334 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 350 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 28.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 3.92 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 

ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 388 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 391 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.65 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 411 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 403 บาท  ภาคกลางร้อยฟองละ 353 บาท และภาคใต้ร้อยฟองละ 416 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 4.15 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 3.99 บาท คิดเป็นร้อยละ 4.01 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 

โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
   
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 93.84 บาท  สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 93.81 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.04 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 100.48 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 92.62 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 79.74 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 108.64 บาท

กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ

ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 76.42 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 75.34 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.44 ของสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 96.33 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 72.58 บาท  ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงาน 
 
 

 
 

 
ประมง
 
สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
1. การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 1 – 7 พฤษภาคม 2566) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2. การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3 - 4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.44 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.91 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 80.57 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.66 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ
ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัมและราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 127.07 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 130.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.28 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาครขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 125.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 122.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.50 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น
2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 71.84 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 74.79 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.95 บาท เนื่องจากตลาดมีความต้องการบริโภคลดลง
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 250.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น
ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.00 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 7.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.07 บาท
สำหรับราคาปลาป่นขายส่งกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ปลาป่นชนิดโปรตีน 60% ขึ้นไป ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา และปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 36.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา